ฟอร์ติเน็ตก้าวเป็นพันธมิตรผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์รักษาความปลอดภัยไซเบอร์ของ “เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม”

ฟอร์ติเน็ต (NASDAQ: FTNT) ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ระดับองค์กร ได้อ้างถึงการประชุมเศรษฐกิจโลก “เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม” (World Economic Forum: WEF) ประจำปีคศ. 2018 ว่า ภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและการปฏิรูปติจิทัลในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลก ในปัจจุบัน การโจมตีทางไซเบอร์ได้เพิ่มสูงขึ้นมากทั้งในด้านความซับซ้อนและปริมาณ ซึ่งในขณะที่องค์กรต่างๆ เริ่มมีการนำเอาอุปกรณ์ไอโอที (IoT) และเทคโนโลยีใหม่อื่นๆ มาใช้มากขึ้น รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เข้ามามีบทบาทในการใช้งาน อาชญากรไซเบอร์ก็มีความรอบรู้ทางเทคนิคในการโจมตีโดยใช้เอไอในกิจกรรมของตนมากขึ้นเช่นกัน จึงเป็นการขยายพื้นผิวของโอกาสที่จะถูกโจมตีแบบดิจิทัลมากขึ้นและขยายช่องโหว่ต่างๆ กว้างมากขึ้น อันเป็นภัยคุกคามต่อบุคคล บริษัท องค์กรและรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

 

กลุ่มเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการบังคับใช้กฎหมายในฟอรัมเห็นว่า แม้เทคโนโลยีบลอคเชนจะมีความปลอดภัยอยู่ระดับหนึ่ง แต่ยังมีภัยที่น่าเป็นห่วงอยู่ อันได้แก่ ภัยเรียกค่าไถ่แรนซัมแวร์ ภัยที่ทำงานแบบโซเชียลเอ็นจิเนียริ่ง เว็บไซต์ตลาดมืดออนไลน์ (Darknet markets) รวมถึงภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับคริปโตเคอเรนซี  พวกเขายังคาดการณ์อีกด้วยว่า การรวมตัวของไอโอทีและปัญญาประดิษฐ์ประเภท Offensive AI คลาวด์คอมพิวติ้ง ความปลอดภัยของข้อมูลและภัยคุกคามที่มาช่องทางออนไลน์นั้นจะเป็นกลุ่มเป้าหมายของภัยไซเบอร์ที่มีอัตราการเติบโตสูงในปีคศ. 2019  นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากธุรกิจการลงทุนได้ออกมาเตือนว่า ในขณะที่ภัยคุกคามมีมากขึ้น การสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยไซเบอร์และการวัดผลการป้องกันนั้นจะยากขึ้นและสำคัญยิ่งขึ้นเช่นกัน

 

ในการจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ ทางเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัมจึงได้สร้างศูนย์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Center for Cybersecurity) ซึ่งประกอบไปด้วยผู้นำจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ นักวิชาการ ผู้บังคับใช้กฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ โดยศูนย์ฯ จะทำหน้าที่เป็นองค์กรอิสระ ภายใต้การสนับสนุนของเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัมและมีเป้าหมายคือการสร้างแพลตฟอร์มระดับโลกครั้งแรกให้กับรัฐบาล ธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ในการประสานทำงานร่วมกันในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทั้งนี้ การประชุมประจำปีครั้งแรกของศูนย์ฯ ได้สิ้นสุดลงไปเมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมานี้โดยมีการเรียกร้องให้ดำเนินการเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป และขอให้ก้าวข้ามความท้าทายสำคัญ 3 ประการ อันได้แก่ การขาดความไว้วางใจ การขาดความร่วมมือ และสภาวะที่ขาดทักษะที่เพียงพอ

 

ศูนย์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ยังได้ประกาศว่า เอคเซนเชอร์ (Accenture) ฟอร์ติเน็ต (Fortinet) และสเบอร์แบงค์ (Sberbank) เป็นพันธมิตรผู้ร่วมก่อตั้งของศูนย์ฯ และได้รับสิทธิ์เป็นกรรมการถาวรในคณะกรรมการของศูนย์ฯ  ทั้งนี้ กรรมการอื่นๆ จะประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กร อุตสาหกรรมจากประเทศต่างๆ ในวาระท่านละ 2 ปี   โดยนายฟิล เควด ประธานบริหารด้านความปลอดภัยข้อมูล (Chief Information Security Officer: CISO) แห่งฟอร์ติเน็ตเห็นว่า “ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนมีความสำคัญมาก”

 

นายเคน ซี ผู้ก่อตั้ง ประธานและซีอีโอของฟอร์ติเน็ตกล่าวย้ำว่า“ ฟอร์ติเน็ตเชื่อมั่นในความสำคัญของการทำงานร่วมกันและการแบ่งปันข้อมูลเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรมไซเบอร์ ทั้งนี้ การที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ใหม่ครั้งนี้ นับว่ามีนัยยะสำคัญต่อความร่วมมือกันที่ดีในระดับโลกเป็นอย่างยิ่ง และถือเป็นก้าวสำคัญในภารกิจของฟอร์ติเน็ตที่มุ่งมั่นรักษาความปลอดภัยให้กับองค์กรขนาดใหญ่ ผู้ให้บริการ รวมถึงองค์กรของรัฐบาลต่างๆ ทั่วโลกอีกด้วย”

นายเคน ซี ผู้ก่อ ตั้งประธาน และซีอีโอของฟอร์ติเน็ต

 

เกี่ยวกับฟอร์ติเน็ต

ฟอร์ติเน็ต (NASDAQ: FTNT) ปกป้ององค์กร ผู้ให้บริการ และหน่วยงานรัฐบาลขนาดใหญ่ทั่วโลกให้พ้นจากภัยไซเบอร์ ฟอร์ติเน็ตช่วยให้ลูกค้าสามารถมีข้อมูลเชิงลึกในภัยคุกคาม และสร้างการป้องกันที่ชาญฉลาดให้ธุรกิจลูกค้าดำเนินไปอย่างราบรื่น เพื่อตอบสนองความต้องการด้านประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาต่อเครือข่ายไร้พรมแดนในวันนี้และในอนาคต  ทั้งนี้ เครือข่ายด้านความปลอดภัยซีเคียวริตี้แฟบลิคอันเป็นสถาปัตยกรรมใหม่จากฟอร์ติเน็ตเท่านั้นที่สามารถมอบคุณสมบัติด้านความปลอดภัยโดยจะไม่ยอมแพ้แก่ภัยที่เข้ามา ไม่ว่าจะเป็นในเครือข่าย แอปพลิเคชั่น คลาวด์ โมบาย หรือไอโอที ฟอร์ติเน็ตดำรงตำแหน่งเป็น #1 ในการจัดส่งอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยสู่ตลาดโลกมากที่สุด  และมีลูกค้ามากกว่า 375,000 รายทั่วโลกไว้วางใจฟอร์ติเน็ตให้ปกป้องธุรกิจของตน   รู้จักฟอร์ติเน็ตเพิ่มเติมได้ที่ www.fortinet.com  และ The Fortinet Blog  หรือ FortiGuard Labs